วันอังคารที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2555

หน่วยที่ 10 แนวโน้มในอนาคตเกี่ยวกับนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศกับการศึกษาหรือการเรียนการสอน


แนวโน้มในอนาคต
เปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆนั้นส่งผลต่อการศึกษาแน่นอน จึงต้องมีการปรับเปลี่ยนการจัดการเรียนรู้ให้เป็นไปตามสังคมการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน   ดังนั้นผู้ที่มีความเกี่ยวข้องกับงานการศึกษาจะต้องทันสมัยอยู่เสมอเพื่อพัฒนาบุคลากร(นักเรียน)ที่จะเป็นอนาคตของชาติที่ดีและรอบรู้ต่อไปในอนาคต
แนวโน้มนวัตกรรมการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีไอซีทีเครือข่ายโลกทางการศึกษา
แนวโน้มของนวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา
แนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงทางด้านต่าง ๆ ทั้งเศรษฐกิจ   สังคม และการเมือง  มีผลทำให้มีความเปลี่ยนแปลงของนวัตกรรมและเทคโนโลยีในระยะที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันพบว่าประเด็นที่น่าสนใจที่ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงไปในลักษณะต่าง ๆ  ก่อให้เกิดนวัตกรรมประเภทต่าง ๆ ได้ดัง
ต่อไปนี้
 1.  การรวมตัวของสื่อ  เมื่อคอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาท ทำให้มีการนำสื่อเข้ามาใช้ร่วมกับคอมพิวเตอร์ในลักษณะสื่อประสม เช่น  การใช้แผ่นวีดิทัศน์เชิงโต้ตอบ   การใช้แผ่นซีดี-รอมบันทึก
         ข้อมูล  เป็นต้น 
2.   สื่อขนาดเล็ก  สื่อหลายชนิดที่เป็นนวัตกรรมที่ใช้กันอยูในขณะนี้เป็นวัสดุและอุปกรณ์
          ที่มีใช้กันมานานแล้วแต่ในปัจจุบันได้อาศัยเทคโนโลยีช่วยในการคิดค้นและพัฒนาให้มีขนาดเล็ก
          ลงและใช้ได้สะดวกขึ้น เช่น  กล้องถ่ายวีดิทัศน์  การผลิตแผ่นซีดี   
3.  ความก้าวหน้าของคอมพิวเตอร์  เครื่องคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันนอกจากจะมีนาดเล็กลงแล้ว ยังมีสมรรถนะในการ ทำงานสูงกว่าเดิมมาก สามารถบรรจุเนื้อที่บันทึกข้อมูลได้มาก ทำงานได้อย่างรวดเร็ว และมีราคาถูกลง ทำให้โรงเรียน   ต่าง ๆ สามารถซื้อมาใช้ในการเรียนการสอนได้อย่างทั่วถึง
4. ระบบสื่อสารโทรคมนาคม    ปัจจุบันการส่งสัญญาณผ่านดาวเทียมทำให้ผู้เรียนในซึก
       โลกหนึ่งสามารถเรียนรู้ไปได้พร้อมกับผู้เรียนอีกซีกโลกหนึ่ง โดยที่ผุ้สอนและผู้เรียนไม่จำเป็นต้อง
       อยู่สถานที่เดียวกันก็สามารถทำให้เกิดการเรียนการสอนร่วมกันได้โดยการสอนในลักษณะการประชุมทางไกลโดยวีดิทัศน์
แนวโน้มของการใช้เทคโนโลยีการศึกษาในอนาคต
      1.ให้ความสาคัญกับการเรียนการสอนนอกระบบมากขึ้น
จะเห็นได้ว่า กฎหมายให้ความสาคัญแก่การจัดการศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะเน้นการศึกษารายบุคคล มวลชน และผู้ด้อยโอกาสทั้งหลาย
      2.เน้นเรื่องการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย
เลือกใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เป็นอีกมิติหนึ่งของการเรียนการสอนโดยใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เนื่องจากสมรรถภาพทางการสอนของคอมพิวเตอร์ที่เราพบเห็นในปัจจุบันทาให้คาดการณ์ได้ว่าในอนาคตจะมีการนาคอมพิวเตอร์มาใช้อย่างแพร่หลาย
         3.เน้นเรื่องการศึกษาเป็นรายบุคคล การศึกษาเพื่อมวลชน และการศึกษาเพื่อคนด้อยโอกาส
กระทรวงศึกษาธิการ สหรัฐอเมริกา ได้มีงานวิจัยเกี่ยวกับการศึกษาพิเศษ งานวิจัยเหล่านั้นมุ่งไปที่การพัฒนาวิธีการเรียนการสอนที่จะช่วยให้คนพิการ เอาชนะข้อจากัดทางด้านร่างกายและข้อจากัดที่เกี่ยวกับประสาทสัมผัส
ปัจจุบันลักษณะสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ
<!--[if !supportLists]-->•                   <!--[endif]-->- เทคโนโลยีสารสนเทศเปลี่ยนรูปแบบการบริการเป็นแบบกระจาย
<!--[if !supportLists]-->•                   <!--[endif]-->- เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นสิ่งที่จำเป็น สำหรับการดำเนินการในหน่วยงานต่าง ๆ
<!--[if !supportLists]-->•                   <!--[endif]-->- เทคโนโลยีสารสนเทศเกี่ยวข้องกับคนทุกระดับ
<!--[if !supportLists]-->•                   <!--[endif]-->-เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยเพิ่มผลผลิต ลด ต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน

 เป้าหมายของเทคโนโลยีการศึกษา
1. การขยายพิสัยของทรัพยากรของการเรียนรู้ กล่าวคือ แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ มิได้หมายถึงแต่เพียงตำรา ครู และอุปกรณ์การสอน ที่โรงเรียนมีอยู่เท่านั้น แนวคิดทางเทคโนโลยีทางการศึกษา ต้องการให้ผู้เรียนมีโอกาสเรียนจากแหล่งความรู้ที่กว้างขวางออกไปอีก แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ครอบคลุมถึงเรื่องต่างๆ เช่น
1.1 คน คนเป็นแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ที่สำคัญซึ่งได้แก่ ครู และวิทยากรอื่น ซึ่งอยู่นอกโรงเรียน เช่น เกษตรกร ตำรวจ บุรุษไปรษณีย์ เป็นต้น
1.2 วัสดุและเครื่องมือ ได้แก่ โสตทัศนวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น ภาพยนตร์ วิทยุ โทรทัศน์ เครื่องวิดีโอเทป ของจริงของจำลองสิ่งพิมพ์ รวมไปถึงการใช้สื่อมวลชนต่างๆ
1.3 เทคนิค-วิธีการ แต่เดิมนั้นการเรียนการสอนส่วนมาก ใช้วิธีให้ครูเป็นคนบอกเนื้อหา แก่ผู้เรียนปัจจุบันนั้น เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองได้มากที่สุด ครูเป็นเพียง ผู้วางแผนแนะแนวทางเท่านั้น
1.4 สถานที่ อันได้แก่ โรงเรียน ห้องปฏิบัติการทดลอง โรงฝึกงาน ไร่นา ฟาร์ม ที่ทำการรัฐบาล ภูเขา แม่น้ำ ทะเล หรือสถานที่ใด ๆ ที่ช่วยเพิ่มประสบการณ์ที่ดีแก่ผู้เรียนได้
2. การเน้นการเรียนรู้แบบเอกัตบุคคล ถึงแม้นักเรียนจะล้นชั้น และกระจัดกระจาย ยากแก่การจัดการศึกษาตามความแตกต่างระหว่างบุคคลได้ นักการศึกษาและนักจิตวิทยาได้พยายามคิด หาวิธีนำเอาระบบการเรียนแบบตัวต่อตัวมาใช้ แต่แทนที่จะใช้ครูสอนนักเรียนทีละคน เขาก็คิด ‘แบบเรียนโปรแกรม’ ซึ่งทำหน้าที่สอน ซึ่งเหมือนกับครูมาสอน นักเรียนจะเรียนด้วยตนเอง จากแบบเรียนด้วยตนเองในรูปแบบเรียนเป็นเล่ม หรือเครื่องสอนหรือสื่อประสมหลายๆ อย่าง จะเรียนช้าหรือเร็วก็ทำได้ตามความสามารถของผู้เรียนแต่ละคน
3. การใช้วิธีวิเคราะห์ระบบในการศึกษา การใช้วิธีระบบ ในการปฏิบัติหรือแก้ปัญหา เป็นวิธีการที่เป็นวิทยาศาสตร์ ที่เชื่อถือได้ว่าจะสามารถแก้ปัญหา หรือช่วยให้งานบรรลุเป้าหมายได้ เนื่องจากกระบวนการของวิธีระบบ เป็นการวิเคราะห์องค์ประกอบของงานหรือของระบบ อย่างมีเหตุผล หาทางให้ส่วนต่าง ๆ ของระบบทำงาน ประสานสัมพันธ์กันอย่างมีประสิทธิภาพ
4. พัฒนาเครื่องมือ-วัสดุอุปกรณ์ทางการศึกษา วัสดุและเครื่องมือต่าง ๆ ที่ใช้ในการศึกษา หรือการเรียนการสอนปัจจุบันจะต้องมีการพัฒนา ให้มีศักยภาพ หรือขีดความสามารถในการทำงานให้สูงยิ่งขึ้นไปอีก

ขอบข่ายของเทคโนโลยีที่นำมาใช้ด้านการศึกษาสามารถแบ่งออกเป็นลักษณะใหญ่ 5 ลักษณะคือ
1.เทคโนโลยีการพิมพ์
2.โทรคมนาคม รวมถึงโทรศัพท์ วิทยุ และระบบการสื่อสารสองทางในรูปแบบและลักษณะต่างๆ
3.ภาพยนต์และวิดีทัศน์ ซึ่งเป็นผลรวมของภาพเคลื่อนไหวและเสียง
4.คอมพิวเตอร์
5.การเชื่อมโยงเทคโนโลยีในสาขาต่างๆมาใช้เพื่อช่วยในการทำงานและในการเพิ่มพูนความสามารถมนุษย์
เทคโนโลยีทางการศึกษาเป็นการศาสตร์ที่ว่าด้วยวิธีทางการศึกษา หมายถึง การนำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ รวมถึงการทางจิตวิทยา มาใช้ปฏิบัติในการแก้ปัญหาการศึกษา ทั้งด้านการบริหารและการเรียนการสอน ซึ่งครอบคลุมองค์ประกอบ 3 ประการคือ วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการ
แนวโน้มการใช้เทคโนโลยีการศึกษา
การเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาที่จะเกิดขึ้นในอนาคตเป็นผลมาจากองค์ประกอบ 3 ประการ
1.ปัญหาหรือวิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน และแนวโน้มของปัญหาที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต
2.เอกลักษณ์ ค่านิยม และเจตคติในปัจจุบัน และที่จะขึ้นในอนาคต
แนวทางการปฏิรูปการศึกษา
       <!--[endif]-->ปฏิรูประบบและกระบวนการเรียนรู้
       <!--[endif]-->ปฏิรูประบบการจัดการศึกษาให้เป็นระบบการศึกษาตลอดชีวิต
.       <!--[endif]-->การปฏิรูปการฝึกหัดครู การพัฒนาครู.         
        การปฏิรูประบบการบริหารการจัดการด้านการศึกษา       
 ปัญหาที่เกิดจากการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา        
    ขาดการนำไปใช้อย่างเหมาะสม
                   <!--[endif]-->ขาดผู้รู้จริง หรือผู้เชี่ยวชาญที่จะนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์
<!--[if !supportLists]-->8         <!--[endif]-->ปัจจุบันลักษณะสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ
<!--[if !supportLists]-->9            <!--[endif]-->- เทคโนโลยีสารสนเทศเปลี่ยนรูปแบบการบริการเป็นแบบกระจาย.    
              - เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นสิ่งที่จำเป็น สำหรับการดำเนินการในหน่วยงานต่าง ๆ
<!--[if !supportLists]-->1           <!--[endif]-->- เทคโนโลยีสารสนเทศเกี่ยวข้องกับคนทุกระดับ
            <!--[endif]-->-เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยเพิ่มผลผลิต ลด ต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพในการ ทำงาน
      <!--[endif]-->ประโยชน์ที่เกิดจากการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา
<!--[if !supportLists]-->1    <!--[endif]-->- การสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
<!--[if !supportLists]-->1      <!--[endif]-->- เสริมสร้างความเท่าเทียมในสังคมและการกระจายโอกาส
.      <!--[endif]-->- 
 การจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนสะดวก รวดเร็ว และเป็นระบบมากขึ้น